ทาง การแพทย์มีงานวิจัยยืนยันว่าการสูบบุหรี่ทำให้เกิดโรคได้เกือบทุกระบบของ ร่างกาย เช่น หลอดเลือดหัวใจ ปอด ทางเดินหายใจ ระบบสืบพันธุ์ ในบุหรี่มีสารนิโคติน ที่ทำให้เกิดการเสพติดคล้ายกับยาเสพติด ยิ่งสูบมาก สูบมานานก็ทำให้เกิดการเสพมากขึ้นและเลิกยาก จากสถิติ พบว่าเด็กที่เริ่มสูบบุหรี่ตั้งแต่อายุ 17 ปี ใน 10 คน 7 คน จะเลิกไม่ได้ตลอดชีวิต และอีก 3 คนต้องใช้ความพยายามในการเลิกถึง 20 ปี

ใน การเลิกสูบบุหรี่ “นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์” นายกสมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย อธิบายว่า เริ่มต้นผู้สูบบุหรี่ ต้องมีความตั้งใจด้วยตนเองก่อนว่าอยากเลิกสูบบุหรี่ สามารถเลิกได้ด้วยการหักดิบ คือ ทิ้งอุปกรณ์การสูบและเลิกทันที หากทดลองแล้วไม่สามารถเลิกได้ ปัจจุบันมีช่องทางการให้บริการในการเลิกสูบ เช่น สายด่วน 1600 ที่มีผู้ให้คำปรึกษาและติดตาม แพทย์ในสถานพยาบาล คลินิกเลิกสูบบุหรี่ ร้านขายยาคุณภาพ ที่มีเภสัชกรสามารถให้คำปรึกษาได้เช่นกัน

ปัญหาที่พบอย่างหนึ่ง คือ การโฆษณาอุปกรณ์บุหรี่ไฟฟ้า หรือ บุหรี่ไอน้ำ ว่าช่วยเลิกสูบบุหรี่ได้ ทั้งที่ความจริงไม่มีงานวิจัยใดที่รับรองว่าช่วยเลิกสูบบุหรี่ได้ แต่พบว่ามีการติดทั้งบุหรี่ไฟฟ้า และบุหรี่มวนซ้ำ ทั้งนี้ ในช่วงหลังมีการโฆษณาว่าบุหรี่ไอน้ำไม่เติมนิโคติน แต่น่าเป็นห่วงว่า น้ำยาที่ใช้เติมลงในอุปกรณ์นั้นไม่มีการควบคุมมาตรฐาน และเปิดเผยองค์ประกอบ ทำให้ไม่ทราบว่ามีการปนเปื้อนของโลหะหนัก หรือสารปนเปื้อนอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดมะเร็งหรือไม่ รวมทั้งไม่มีการติดตามผลการใช้ระยะยาวทำให้ไม่ทราบถึงอันตรายที่อาจจะได้รับ

การ ใช้อุปกรณ์เหล่านี้ ทำให้ผู้สูบสามารถสูบได้ทุกที่แม้แต่ที่ห้ามสูบบุหรี่ เพราะไม่มีควัน ทำให้ได้รับนิโคตินมากขึ้น อีกทั้งยังพบว่าการใช้อุปกรณ์เหล่านี้ในกลุ่มเยาวชน ทำให้เยาวชนมีทัศนคติที่เห็นว่าการสูบบุหรี่เป็นเรื่องปกติ โดยมีการวิจัยในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า เยาวชนระดับมัธยมปลาย มีการใช้อุปกรณ์เหล่านี้ถึงร้อยละ 16 และพบว่าเด็กกลุ่มนี้ยังติดบุหรี่แบบมวน อีกด้วย

หากต้องการเลิกสูบบุหรี่ทางที่ดีที่สุด คือ ความตั้งใจ หากเลิกไม่ได้ ก็ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการเลิกบุหรี่ เพื่อให้เลิก ได้จริง
ขอบคุณข้อมูลดี ๆจากhttps://www.yaklai.com/lifestyle/special-article/smoke-a-cigarette/

อย่าเชื่ออะไรผิด ๆนะ
บุหรี่ไอน้ำ อันตรายแอบแฝง
ควันบุหรี่ไฟฟ้าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
คุณรู้หรือไม่ว่า…..บุหรี่…..เป็นสาเหตุสำคัญอันดับสองของการเสียชีวิตทั่วโลก ปัจจุบันพบคนสูบบุหรี่ทั่วโลกเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ประมาณ 650 ล้านคน แต่ที่น่าตกใจมากกว่า คือ ในแต่ละปีมีคนไม่สูบบุหรี่หลายแสนคนต้องเสียชีวิตด้วยโรคที่เกิดจากการได้รับควันบุหรี่มือสอง
โดยควันบุหรี่ในบรรยากาศ  หรือ ควันบุหรี่มือสอง เกิดขึ้นจาก 2 แหล่ง คือ ควันบุหรี่ที่ผู้สูบบุหรี่พ่นออกมา และควันบุหรี่ที่ลอยจากตอนปลายมวนบุหรี่  และทันทีที่บุหรี่ถูกจุดขึ้น การเผาไหม้ของมวนบุหรี่จะทำให้เกิดสารเคมีกว่า 4,000 ชนิด  เป็นสารพิษมากกว่า 250 ชนิด และกว่า 50 ชนิด ที่เป็นสารพิษที่วงการแพทย์ระบุว่าเป็นสารก่อมะเร็ง
สารพิษที่พบในควันบุหรี่ ล้วนส่งผลต่อร่างกายอย่างร้ายแรง
ผลของควันบุหรี่มือสองต่อสุขภาพของผู้ที่ได้รับควันบุหรี่
ผู้ใหญ่ที่ได้รับควันบุหรี่มือสองในบ้าน หรือที่ทำงาน วันละ 3ชั่วโมงขึ้นไป จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจเพิ่มขึ้นร้อยละ 25-30 เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นร้อยละ 20-30 จะมีอัตราการเป็นโรคมะเร็งที่ลำคอมากกว่าผู้ไม่ได้รับควันบุหรี่ 3 เท่า และเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งอื่น ๆ มากกว่าคนปกติถึง 2 เท่า โดยควันบุหรี่มือสองก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบเลือดหัวใจทันทีที่ได้รับควันบุหรี่มือสอง
หญิงมีครรภ์และทารกที่ได้รับควันบุหรี่มืออย่างต่อเนื่อง จะมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์และคลอดบุตรได้ โดยอาจมีอาการครรภ์เป็นพิษ แท้ง คลอดก่อนกำหนด และเกิดอาการไหลตายในเด็กสูงขึ้น
เด็กเล็กที่ได้รับควันบุหรี่มือสอง ก่อให้เกิดความเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น หลอดลมอักเสบและปลอดบวม สูงกว่าเด็กทั่วไป มีอัตราการเกิดโรคหืดเพิ่มขึ้น เกิดการติดเชื้อของหูส่วนกลาง ในระยะยาว เด็กที่ได้รับควันบุหรี่มือสองจะมีพัฒนาการของปอดน้อยกว่าเด็กที่ไม่ได้รับควันบุหรี่
สถาบันพิทักษ์สิ่งแวดล้อมสหรัฐอเมริกา และศูนย์วิจัยโรคมะเร็งนานาชาติ พิสูจน์แล้วว่า ควันบุหรี่มือสองเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ เมื่อคนไม่สูบบุหรี่ได้รับควันบุหรี่มือสอง เขาได้สูดดมสารก่อมะเร็งเข้าสู่ร่างกายเช่นเดียวกับคนสูบบุหรี่ และไม่มีระดับที่ปลอดภัยจากการได้รับควันบุหรี่มือสอง แม้จะได้รับเพียงระยะเวลาสั้น ๆ ก็เป็นอันตรายได้
แต่โดยเฉลี่ยแล้วเด็ก ๆ จะได้รับควันบุหรี่มือสองมากกว่าผู้ใหญ่ที่ไม่สูบบุหรี่ ดังนั้น วิธีเดียวที่จะปกป้องครอบครัวของคุณจากควันบุหรี่มือสองได้ คือ การเลิกสูบบุหรี่
มาร่วมกันทำให้สถานที่สาธารณะ ที่ทำงาน พาหนะเดินทางและบ้าน ปลอดจากควันบุหรี่ เพราะคนส่วนใหญ่ในสังคมเป็นคนไม่สูบบุหรี่ และมีสิทธิที่จะไม่ตกเป็นเหยื่อของควันบุหรี่มือสองจากคนสูบบุหรี่

ที่มา : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส.